ละคอนวารสารฯ ธรรมศาสตร์ ของ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน_มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำหรับประวัติละคอนวารสารฯนั้น ในปี พ.ศ. 2523 หลังจากที่ทางคณะวารสารศาสตร์ฯ ได้ยกฐานะจากแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็น "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ก็ได้ผลิตและจัดแสดงละครเวทีออกมาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มนับลำดับเรื่องอย่างจริงจัง โดยมีชื่อเรื่อง ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2523 เรื่อง หมอผีครองเมือง
  • ปี พ.ศ. 2533 เรื่อง มาดาม ความบ้า กับปารีส
  • ปี พ.ศ. 2535 เรื่อง ดอกไม้สำหรับมิสซิสแฮริส
  • ปี พ.ศ. 2537 เรื่อง เพื่อนผมชื่อโรมิโอกับจูล่ง
  • ปี พ.ศ. 2538 เรื่อง งานเลี้ยง
  • ปี พ.ศ. 2539 เรื่อง เธอ เขา เรา ผม
  • ปี พ.ศ. 2540 เรื่อง ตุ๊ด(ตู่)
  • ปี พ.ศ. 2541 เรื่อง ผู้หญิง...(กับบางสิ่งที่ชวนหัว)
  • ปี พ.ศ. 2542 เรื่อง ถ้า...พระจันทร์
  • ปี พ.ศ. 2543 เรื่อง A Family
  • ปี พ.ศ. 2544 เรื่อง คืนนี้พี่ขอ
  • ปี พ.ศ. 2545 เรื่อง ทบ.๔
  • ปี พ.ศ. 2546 เรื่อง สามเรื่องควบ

  • ปี พ.ศ. 2547 เรื่อง 80 วันรอบบ้าน
  • ปี พ.ศ. 2548 เรื่อง ศึกวังค้างคาว ตอนรัตติกาลจ๊วบ
  • ปี พ.ศ. 2549 เรื่อง ขบวนการ 5 สี V-Ranger
  • ปี พ.ศ. 2550 เรื่อง หมู่บ้านลั้นลา หรรษาราดิโอ
  • ปี พ.ศ. 2551 เรื่อง Dear Passenger...ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ
  • ปี พ.ศ. 2552 เรื่อง Match Maker...เนื้อคู่คุณอยู่ไหน?
  • ปี พ.ศ. 2553 เรื่อง ดาลิต
  • ปี พ.ศ. 2554 เรื่อง Just Buried ด้วยรักและเกลียดชัง
  • ปี พ.ศ. 2555 เรื่อง สุขศาลา
  • ปี พ.ศ. 2556 เรื่อง บานเดม ราตรีต้องคำสาป ตราบาปต้องจำนำ
  • ปี พ.ศ. 2557 เรื่อง The Gypsy Sisters
  • ปี พ.ศ. 2558 เรื่อง The Outer Project
  • ปี พ.ศ. 2560 เรื่อง Aloha Paradise เกาะอลวน คนหลอกผี
  • ปี พ.ศ. 2563 เรื่อง The Enchantra Alcazar เปิดม่านมนตรา มายาตลาดสด

ละครเวทีทุกเรื่องข้างต้นจะแฝงไปด้วยแก่นสาระ แนวคิดต่างๆของนักศึกษา ที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้ผู้ชมในโรงละครได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ผ่านความบันเทิง โดยสิ่งที่เหล่านี้ล้วนกลั่นกรองมาจากสภาพสังคมและปัญหาในปัจจุบันจากมุมมองในฐานะคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในสังคมไทยและในฐานะนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นกระจกเงาสะท้อนสังคม ซึ่งในบางครั้งความคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาในสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อบนเวทีสาธารณะ นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จและเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ทำละครเวที

สำหรับชื่อของละคอนวารสารนั้น จะเห็นว่าใช้คำว่า “ละคอน” แทนคำว่า “ละคร” ซึ่งเป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานจัดเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันนั้น (คำว่า “ละคอน” และ “ละคร” นั้นมีความหมายเหมือนกัน และมักใช้สลับกันจนสับสนแก่ผู้อ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเลือกเก็บคำว่าละคร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว) เนื่องจากต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ละคอนวารสารฯ และยังคงสืบทอดคำว่า “ละคอนวารสารฯ” นี้จวบจนปัจจุบัน

นอกจากนี้นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ละคอนวารสารถูกพัฒนาให้มีลักษณะกึ่งละครเพลง เพิ่มสีสันให้กับการแสดง และการประชาสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลละคอนวารสารฯ คลิกที่นี่

ใกล้เคียง

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก คณะราษฎร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน_มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://203.131.210.100/graduate/?page_id=23 http://203.131.210.100/graduate/?page_id=25 http://203.131.210.100/graduate/?page_id=27 http://203.131.210.100/graduate/?page_id=29 http://www.facebook.com/LakornVarasarn http://www.LakornVarasarn.com http://www.lakornvarasarn.com http://www.bjm.jc.tu.ac.th/ http://www.bjm.jc.tu.ac.th/# http://www.jc.tu.ac.th